ใบอนุญาตเลขที่ น 059-63

เรื่องราว กิจกรรม ความรู้ ผลงาน

รอบรู้เรื่องสร้างบ้าน ARCHITECT-BKK

บริษัทรับออกแบบ เขียนแบบ ออกแบบตกแต่งภายใน

รู้ก่อนซื้อ!! รวม 5 ลักษณะที่ดินต้องห้าม ที่ไม่ควรสร้างบ้านหรือทำการลงทุน

การเลือก "ทำเลหรือที่ดิน" ในการสร้างบ้าน ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยโดยตรงในระยะยาว หากเราเลือกที่ดินหรือทำเลไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดปัญหาในอนาคตได้ วันนี้ทาง อาร์คิเทค บีเคเค นำลักษณะที่ดินที่เราไม่ควรนำสร้างบ้านหรือทำการลงทุนใดๆ จะมีลักษณะใดบ้างไปชมกันเลย     ที่ดินดังกล่าวนี้เป็นลักษณะรูปที่ดิน ทำเลที่ตั้ง หรือเอกสารทางกฎหมาย ที่ส่อแววก่อเกิดปัญหาได้ในอนาคต เพื่อความสบายใจตัดปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นตัดสินใจลงทุน จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ TerraBKK รวบรวมลักษณะ ที่ดินต้องห้าม เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุนว่า ที่ดินที่กำลังสนใจนั้น มีลักษณะก่ออาการปวดหัวแก่เราและสามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์การลงทุนแล้วหรือยัง ?   ♦   ทางเข้าออกลำบาก  ที่ดินตาบอด มีลักษณะเป็นที่ดินที่ถูกล้อม ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินต้องห้ามลักษณะนี้อาจเกิดจากการแบ่งย่อยที่ดินแปลงใหญ่ให้เล็กลงเป็นหลายแปลง เช่น เป็นมรดกให้ลูกหลาน เป็นต้น ที่ดินลักษณะนี้ก่อเกิดปัญหาความวุ่นวายในการขอเส้นทางสัญจรเข้าออก ดังนั้นควรตรวจสอบตำแหน่งที่ดินเบื้องต้นได้โดยนำเลขที่โฉนดเข้าตรวจสอบที่กรมที่ดินเขตนั้น ๆ หากพบว่ามีเลขที่ดินล้อมอยู่ทั้งรอบแปลงที่ดินเรา สันนิษฐานว่าอาจเป็นที่ดินไม่มีทางเข้า-ออก (ยกเว้นโฉนดที่ดินจัดสรร) ยื่นขอตรวจระวางใหญ่เพื่อดูแปลงที่ดินนั้นทั้งหมดต่อไป ทั้งนี้หากเป็นที่ดินตาบอด เจ้าของที่ดินแปลงนั้นก็มีสิทธิ์ฟ้องเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมรอบได้ เพื่อขอเปิดทางไปสู่ทางสาธารณะ เรียกว่า “ทางจำเป็น” ตรวจสอบเบื้องต้นว่ามีการจดทะเบียนภาระจำยอมให้หรือไม่ การสัญจร “ทางจำเป็น” ต้องเกิดความเสียหายต่อที่ดินแปลงล้อมรอบให้น้อยที่สุดและต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของที่ดินแปลงนั้น ๆ ด้วย ♦   ที่ดินรูปทรงไม่สมบูรณ์ รูปร่างที่ดินที่ผิดแปลกไปจากรูปทรงสี่หลี่ยมดูจะมีโอกาสเกิดปัญหาการใช้สอยประโยชน์พื้นที่ไม่น้อย ขณะที่หลายคนก็เชื่อหลักที่ดินต้องห้ามตามศาสตร์ฮวงจุ้ย ผลลัพธ์มักออกมาในรูปแบบคล้ายกัน เช่น ที่ดินรูปชายธง (สามเหลี่ยม) เป็นหนึ่งรูปทรงที่ผิดหลักตามศาสตร์ฮวยจุ้ย และเมื่อมองในรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่จะพบว่า มักเสียประโยชน์ใช้สอยบริเวณสามเหลี่ยม ด้วยหลักกฎหมายการก่อสร้าง ต้องคำนึงเรื่องระยะร่น การออกแบบโครงการตึกก็ทำได้ยากกว่ารูปทรงปกติ อาจก่อปัญหาอื่นตามมาได้ รูปทรงที่ดินต้องห้ามในการลงทุนจึงมักจะเป็นรูปทรงแปลก เช่น ทรงสามเหลี่ยม ทรงรี หรือทรงเหลี่ยมที่มีลักษณะหน้าแคบแต่ลึก ซึ่งยากต่อการใช้สอยประโยชน์ เป็นต้น ♦   สถานที่เดิม-สิ่งแวดล้อมที่ดินไม่เหมาะสม การตรวจสอบความเป็นมาของที่ดินแปลงนั้นก็สำคัญไม่น้อย อย่าลงทุนที่ดินต้องห้ามเพียงเพราะราคาประกาศขายถูกกว่าตลาด ลองสำรวจความเป็นมาที่ดินแปลงดูเสียก่อน ลักษณะที่ดินที่ไม่ควรลงทุน เช่น เป็นสุสานเก่า โรงพยาบาลเก่า โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น สาเหตุไม่ควรลงทุน คือ ด้านจิตใจและพลังงานร้าย ๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล สำหรับทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลจะเป็นเรื่องของดินที่กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่าง ๆ จากการกิจกรรมที่กระทำในอดีต จึงไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสถานที่ทางศาสนา อย่าง วัดวาอาราม โบสถ์ มัสยิด เป็นต้น ♦   ตำแหน่งที่ตั้งที่ดิน เสี่ยงต่อความปลอดภัย ตำแหน่งที่ตั้งแปลงที่ดินส่งผลต่อความปลอดภัยในการอยู่อาศัยและความมั่นคงในอนาคตได้ ต้องศึกษาตรวจสอบที่ดินว่าตั้งในบริเวณที่ก่อโอกาสเกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหรือความแข็งแรงของที่ดิน กลายเป็นที่ดินต้องห้ามหรือไม่ เช่น ที่ดินบริเวณทางสามแพร่ง โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุรถยนต์พุ่งเข้าชนย่อมสูงกว่าตำแหน่งอื่น ที่ดินบริเวณริ่มแม่น้ำฝั่งที่ถูกน้ำกัดเซอะ ยิ่งนานวันยิ่งเสียขนาดที่ดินพังทลายไปเรื่อย ที่ดินบริเวณเดิมเป็นบ่อเลี้ยงปลาเป็นบ่อน้ำ หากถมดินไม่ดี โอกาสเกิดที่ดินจะทรุดตัวย่อมมากว่าตำแหน่งอื่น หากสร้างบ้านอยู่อาศัยก็มีโอกาสไม่ปลอดภัยในอนาคตได้ ♦   เอกสารกฎหมายที่ดินต่างๆ เอกสารกฎหมายที่ดินต่าง ๆ ลักษณะที่ดินเพื่อการลงทุนควรมีเอกสารทางกฎหมายชัดเจน รายละเอียดประเภทสิทธิการถือครองต่าง ๆ ควรทำการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนว่าตอบสนองความต้องการลงทุนของเราหรือไม่ บางกรณีมีข้อจำกัดสิทธิ ถือครองได้แต่โอนต่อไม่ได้ หรือ เป็นที่ดินไม่มีโฉนด เช่น ที่ดินมือเปล่า ลักษณะเป็น ส.ป.ก. ไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ เป็นที่ดินของรัฐที่ไม่ได้ทำประโยชน์ จัดสรรให้แก่เกษตรกรได้เอาไปทำประโยชน์ประกอบอาชีพ จึงจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประเภทที่ดินที่ไม่สามารถออกโฉนดได้ เช่น ที่ดินมีหลักฐานสิทธิทำกิน (สทก.) ลักษณะเป็นหนังสืออนุญาตให้ผู้ที่ได้เข้าไปบุกรุกทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นผู้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินเท่านั้น จึงไม่สามารถนำมาขอออกโฉนดที่ดินได้ เป็นต้น ที่มา : Terrabkk

Architect-BKK.com บริษัท อาร์คิเทค บีเคเค จำกัด บริษัทสถาปนิก บริการให้คำปรึกษาออกแบบ เขียนแบบบ้าน บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน บริการออกแบบตกแต่งภายใน บริษัทรับออกแบบทุกสไตล์ Modern Style Modern Luxury Tropical Style Resort Style Classic Style Thai Modern Luxury Home Contemporary Style โดยทีมงานสถาปนิก

ARCHITECT-BKK CO.,LTD.

Copyright ©2551-2567 16ปี Architect-BKK™ Company Limited.

57 ซอยรามอินทรา 65 แยก 4 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพ 10230