เรื่องราว กิจกรรม ความรู้ ผลงาน
บริษัทรับออกแบบ เขียนแบบ ออกแบบตกแต่งภายใน
เป็นปัญหาที่หลายบ้านกลุ้มอกกลุ้มใจไม่น้อย สำหรับปัญหาเรื่อง การระบายน้ำเสียออกสู่ดิน ที่เป็นสาเหตุให้โถสุขภัณฑ์กดชักโครกหรือราดน้ำไม่ลง ส่งกลิ่นเหม็นจนเวียนหัว หรือบางบ้านที่เพิ่มจำนวนสุขภัณฑ์มากขึ้น จนบ่อบำบัดเดิมที่เป็นแบบบ่อเกรอะ บ่อซึม นั้นไม่สามารถรองรับได้ การเปลี่ยนมาใช้ “ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป” อาจเป็นทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
CR. www.cs-m7.com
♦ เปลี่ยนบ่อเกรอะแบบเดิม เป็นถังบำบัดสำเร็จรูปใหม่
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเดิมที่เรารู้จักกันดี อย่างบ่อเกรอะ ซึ่งในส่วนของบ่อซึมนั้นจะทำหน้าที่กระจายน้ำให้ซึมออกไปตามดินที่อยู่รอบๆ หากดินรอบๆ บ่อซึมเป็นดินเหนียว ดินอุ้มน้ำ หรือบริเวณลุ่มน้ำท่วมถึง แรงดันจากน้ำในดินอาจทำให้บ่อซึมระบายน้ำสู่ดินได้ยาก น้ำจากบ่อเกรอะจึงระบายไปยังบ่อซึมได้ไม่เต็มที่ เป็นที่มาของปัญหาส้วมตัน กดชักโครกหรือราดน้ำไม่ลง และมีกลิ่นเหม็น จนต้องสูบส้วมอยู่บ่อยครั้ง
ในส่วนระบบการทำงานของถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป ใช้หลักการ “จุลินทรีย์กำจัดจุลินทรีย์” โดยกากของเสียซึ่งไหลลงสู่ถังบำบัดน้ำเสีย จะตกตะกอนอยู่ก้นถังที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์คอยย่อยสลาย ทำให้ไม่มีกลิ่นเนื่องจากไม่มีตะกอนตกค้างในถังและไม่ต้องพึ่งการระบายน้ำของบ่อซึม สำหรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกลำเลียงไปยังปลายทางคือ ท่อระบายน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ ตัวถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปเป็นอุปกรณ์ที่ฝังอยู่ใต้ดินซึ่งยากต่อการดูแลรักษา เจ้าของบ้านจึงควรเลือกใช้ถังบำบัดและอุปกรณ์ ที่ทนทานมีคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. โดยในท้องตลาดจะมีขายถังบำบัดสำเร็จรูปทั้งแบบเติมอากาศและแบบไม่เติมอากาศ ซึ่งปกติในบ้านพักอาศัยมักใช้แบบไม่เติมอากาศwatch Before I Fall 2017 movie online now
การเปลี่ยนระบบบำบัดจากบ่อเกรอะบ่อซึมมาใช้ถังบำบัดสำเร็จรูปนั้น ท่อรับน้ำเสียจากโถสุขภัณฑ์ทั้งหมดจะถูกย้ายมาต่อเข้าถังบำบัดสำเร็จรูป ยกเว้นกรณีที่บ่อเกรอะเดิมฝังอยู่ในใต้พื้นห้องน้ำชั้นล่าง การขุดรื้อออกอาจยุ่งยากเกินไป ข้อแนะนำคือให้คงบ่อเกรอะเดิมไว้รองรับน้ำเสียจากโถสุขภัณฑ์ชั้นล่าง ส่วนท่อน้ำเสียจากห้องน้ำชั้นอื่นสามารถต่อเข้าถังบำบัดสำเร็จรูปใหม่ได้ตามปกติ
♦ ขนาดถังบำบัดเท่าไหร่จึงเหมาะสม?
โดยทั่วไปผู้ผลิตถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป มักจะระบุขนาดที่เหมาะสมไว้ในรายละเอียดผลิตภัณฑ์ หรือหากต้องการคำนวณเองสามารถทำได้ โดยนำ “จำนวนผู้อาศัย” คูณกับ “ปริมาณน้ำเสีย” (คิดเป็น ร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำใช้ต่อวัน) จากนั้นคูณเข้ากับ “เวลาที่ใช้ในการบำบัด” (ประมาณ 1.5 วัน) ได้ตามสูตรดังนี้
CR. www.cs-m7.comขนาดถังบำบัดน้ำเสีย (ลิตร) = จำนวนผู้อยู่อาศัย x 0.8 x ปริมาณน้ำใช้ต่อคนต่อวัน (ลิตร) x 1.5
♦ ตำแหน่งที่ตั้งถังบำบัดที่เหมาะสม
ควรวางแผนกำหนดตำแหน่งถังบำบัด โดยจัดความกว้างและความลึกของพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับถังบำบัดพร้อมคำนึงถึงเส้นทางเดินท่อที่สอดคล้องกัน เพื่อให้การระบายของเสียจากสุขภัณฑ์ไปยังถังบำบัดและท่อน้ำสาธารณะเป็นไปได้โดยสะดวก ถังบำบัดควรวางใกล้ตำแหน่งท่อระบายน้ำเดิม โดยเดินท่อให้มีความลาดชันไม่ต่ำกว่า 1: 50 นอกจากนี้ตำแหน่งของถังบำบัด จะต้องอยู่สูงกว่าปลายท่อน้ำสาธารณะด้วย และอาจวางบ่อพักเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมรวมถึงทุกจุดหักเลี้ยวเพื่อความง่ายดายในการบำรุงรักษา
CR. pinhead2000
♦ ข้อควรคำนึงในการเปลี่ยนถังบำบัด
ก่อนติดตั้งถังบำบัดจะต้องมีการเตรียมพื้นที่ และปรับพื้นที่ดินเดิมนั้นให้เรียบร้อย และเนื่องจากตัวของถังบำบัดขณะใช้งานจะมีน้ำหนักมาก จึงควรเตรียมโครงสร้างโดยลงเสาเข็มสั้น และเทพื้นเพื่อรองรับถังบำบัด เมื่อวางถังบำบัดลงในตำแหน่งติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ควรใส่น้ำหล่อลงในถังก่อนจะกลบดิน เพื่อป้องกันมิให้แรงอัดของดินกดตัวถังจนเสียหาย รวมถึงช่วยป้องกันไม่ให้น้ำใต้ดินดันตัวถังลอยขึ้น หลังจากติดตั้งงานระบบท่อเข้ากับท่อน้ำทิ้งเดิมและท่อระบายอากาศแล้ว
ถังบำบัดสำเร็จรูปนับเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้มาก เนื่องจากของเสียส่วนที่เป็นน้ำจะระบายไปยังท่อน้ำสาธารณะโดยตรง ไม่ต้องพึ่งบ่อซึม และยังมีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายกากของเสียโดยตรง ไม่ต้องคอยดูดสิ่งปฏิกูลออกบ่อยๆ แต่สำหรับบ้านที่ใช้ห้องน้ำน้อยมากหรือใช้นานๆครั้ง จุลินทรีย์ที่มีอยู่อาจตายไป เพราะไม่มีสิ่งปฏิกูลให้ย่อยสลาย กรณีนี้ควรหมั่นเติมจุลินทรีย์เพิ่มในถังบำบัด เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
ที่มา : scgbuildingmaterials
Tags: ถังบำบัดสำเร็จรูป, บ่อซึม, บ่อเกรอะ, บ้าน, รับสร้างบ้าน, ส้วมตัน, ส้วมราดไม่ลง, ห้องน้ำ, เคล็ดลับ, แบบบ้าน
Architect-BKK.com บริษัท อาร์คิเทค บีเคเค จำกัด บริษัทสถาปนิก บริการให้คำปรึกษาออกแบบ เขียนแบบบ้าน บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน บริการออกแบบตกแต่งภายใน บริษัทรับออกแบบทุกสไตล์ Modern Style Modern Luxury Tropical Style Resort Style Classic Style Thai Modern Luxury Home Contemporary Style โดยทีมงานสถาปนิก
Copyright ©2551-2568 17ปี Architect-BKK™ Company Limited.
57 ซอยรามอินทรา 65 แยก 4 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพ 10230
ออกแบบออนไลน์ | แบบบ้านทั้งหมด | แบบบ้านสองชั้น | แบบบ้านโมเดิร์น | รับสร้างบ้าน
สำนักงาน: 02-5092324 | มือถือ: 082-5514990