ใบอนุญาตเลขที่ น 059-63

เรื่องราว กิจกรรม ความรู้ ผลงาน

รอบรู้เรื่องสร้างบ้าน ARCHITECT-BKK

บริษัทรับออกแบบ เขียนแบบ ออกแบบตกแต่งภายใน

แนะเคล็ดลับสร้าง “บ้านโมเดิร์น” อย่างไรให้เย็นสบาย ไม่ร้อน!!

เมืองไทยส่วนใหญ่มีอากาศร้อนแทบตลอดทั้งปี บางเดือนก็ร้อนจนแทบจะละลายกองอยู่กับพื้นเลยทีเดียว อย่างคนไทยโบราณก็มีวิธีปลูกสร้างที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ จนมีสถาปัตยกรรมท้องถิ่น คือ เรือนไทย บ้านไม้ 2 ชั้นใต้ถุนสูง หลังคาหน้าจั่ว พร้อมชานบ้านกว้าง และเป็นบ้านที่ทนร้อนทนฝนเป็นอย่างดี

บ้าน,รับสร้างบ้าน,แบบบ้าน,แบบบ้านโมเดิร์น,Modern,แก้บ้านร้อน

เมื่อเวลาผ่านไปแน่นอนว่ารสนิยมเรื่องบ้านก็ปรับเปลี่ยนไปตามกระแส อย่างบ้านสไตล์ตะวันตก ที่มากับดีไซน์ "แบบบ้านโมเดิร์น" ซึ่งเหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นเสียมากกว่า แต่ถึงกระนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแบบบ้านแนวนี้ก็เป็นแบบที่คนไทย นิยมชมชอบกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในตัวกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อาคารทรงกล่องเรียบๆ ไร้กันสาด ไร้ชายคา ประตูหน้าต่างเป็นเพียงกระจกใส ความเรียบเหล่านี้สร้างปัญหาหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นผนังรั่วซึมเมื่อฝนสาด ความร้อนที่อบอวนอยู่ภายใน วันนี้เราเลยนำวิธีการป้องกันความร้อนให้กับบ้านสไตล์โมเดิร์นมาฝากกัน

บ้าน,รับสร้างบ้าน,แบบบ้าน,แบบบ้านโมเดิร์น,Modern,แก้บ้านร้อน

♥  ทิศทางของบ้าน นอกจากแสงแดดและสายฝนแล้ว เมืองไทยยังมีลมเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้บ้านโมเดิร์นอยู่สบายขึ้น เริ่มจากการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยทั้งภายในและภายนอก ให้มีที่ตั้งที่เหมาะสม สอดคล้องกับทิศทางของแดด ลม และฝน รวมถึงออกแบบช่องเปิดต่างๆ ให้เหมาะกับลมประจำฤดู ได้แก่ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกยิ่งขึ้น

บ้าน,รับสร้างบ้าน,แบบบ้าน,แบบบ้านโมเดิร์น,Modern,แก้บ้านร้อน

♥  หลังคา บ้านโมเดิร์นโดยทั่วไปจะใช้หลังคาทรงเรียงแบนหรือไม่มีหลังคา เป็นต้นเหตุที่บ้านกักเก็บความร้อน แต่เมื่อสร้างในไทยจำเป็นต้องมีหลังคาไว้ช่วยลดความร้อนและรังสีจากดวงอาทิตย์ และช่วยในการระบายน้ำฝน โดยยกขอบผนังโดยรอบให้สูงขึ้น ทำเป็นหลังคาแบบลาดเอียง แล้วซ่อนรางน้ำฝนไว้ภายใน พร้อมมีช่องลมให้ความร้อนที่ลอยตัวสูงได้ระบายออกจากอาคาร ทั้งนี้อย่างลืมติดฉนวนกันความร้อนอีกชั้นเพื่อช่วยลดความร้อนจากหลังคาช่วยให้บ้านเย็นขึ้น ทั้งยังสามารถซ้อนหลังคาอีกชั้นเพื่อบดบังความร้อนได้อีกทาง ♥  ป้องกันความร้อนที่ผนังและเพดาน เริ่มจากการเลือกฉนวนกันร้อนซึ่งทำหน้าที่สะท้อนความร้อนที่ส่งตรงมาจากผนังและรักษาความเย็นภายในเอาไว้ ไม่เพียงเท่านั้นฉนวนกันร้อนยังสามารถติดตั้งในส่วนของฝ้าเพดานซึ่งต้องรับความร้อนโดยตรงจากหลังคาและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บ้านร้อนระอุนั่นเอง

♥  ผนัง กระจกกับบ้านโมเดิร์นดูจะเป็นของคู่กัน แต่กระจกใสจะทำให้ความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้โดยตรง จึงแนะนำให้ทำผนังทึบในบริเวณที่ต้องเจอกับแดดแรงๆ เป็นประจำ สำหรับด้านที่ถูกแสงแดดไม่มาก และต้องการทำผนังหรือหน้าต่างกระจกใส อาจนำแผงระแนงมาติดตั้ง หรือติดม่าน/มู่ลี่ เพื่อช่วยกรองแสงแดด และยังช่วยพรางสายตาจากบุคคลภายนอกหรือเลือกใช้กระจกตัดแสง ที่มีคุณสมบัติช่วยกรองแสงแดดจ้าให้เบาลง และช่วยกันความร้อนได้เป็นอย่างดี ♥  เลือกสีทาบ้านให้เหมาะสม ควรทำบ้านและหลังคาให้เป็นสีอ่อน เพราะสีเข้มมีคุณสมบัติดูดซับความร้อน จะทำให้บ้านสไตล์โมเดิร์นยิ่งร้อนอบอ้าวกว่าเดิม และหากมีงบประมาณสักหน่อย แนะนำให้ใช้สีที่มีคุณสมบัติป้องกันและสะท้อนความร้อน ก็จะช่วยให้บ้านเย็นและประหยัดพลังงานมากขึ้น

บ้าน,รับสร้างบ้าน,แบบบ้าน,แบบบ้านโมเดิร์น,Modern,แก้บ้านร้อน

♥ พื้นที่รอบบ้าน ไม่ใช่แค่การออกแบบตัวอาคารเท่านั้น แต่พื้นที่รอบๆก็มีส่วนทำให้บ้านเย็น นั่นคือการหลีกเลี่ยงวัสดุที่เก็บความร้อนอย่างพื้นคอนกรีต เพราะคอนกรีตจะสะสมและคายความร้อน ทำให้อุณหภูมิภายในบ้านยิ่งสูงขึ้น แนะนำให้ใช้เป็นแผ่นหิน หรือใช้ไม้ระแนงปูเว้นร่องเพื่อช่วยระบายน้ำลงสู่พื้นดิน และควรปลูกต้นไม้ไว้รอบๆ ทั้งที่เป็นต้นไม้ใหญ่และพืชคลุมดิน เพิ่มความเย็นสบายตามธรรมชาติและช่วยป้องกันแดดฝนอาจสร้างสระน้ำหรือบ่อน้ำ เพื่อช่วยลดปริมาณไอความร้อนที่จะพัดเข้าสู่บ้าน ♥  เพิ่มวัสดุช่วยบังแดด เนื่องจากบ้านโมเดิร์นไม่มีชายคาไว้บังแดดฝนโดยตรง การมีผนัง 2 ชั้น จึงเหมาะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทาง อาจจะเป็นการกรุด้วยหินธรรมชาติซึ่งหินจะเก็บความชื้นได้ดี หรืออาจจะตีระแนงไม้เป็นผนังในแนวยาว นอกจากจะช่วยบังแดดแรงแล้ว ยังได้เงาและเส้นสายจะไม้ระแนงเป็นความสวยอีกรูปแบบ

Architect-BKK.com บริษัท อาร์คิเทค บีเคเค จำกัด บริษัทสถาปนิก บริการให้คำปรึกษาออกแบบ เขียนแบบบ้าน บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน บริการออกแบบตกแต่งภายใน บริษัทรับออกแบบทุกสไตล์ Modern Style Modern Luxury Tropical Style Resort Style Classic Style Thai Modern Luxury Home Contemporary Style โดยทีมงานสถาปนิก

ARCHITECT-BKK CO.,LTD.

Copyright ©2551-2567 16ปี Architect-BKK™ Company Limited.

57 ซอยรามอินทรา 65 แยก 4 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพ 10230