ใบอนุญาตเลขที่ น 059-63

เรื่องราว กิจกรรม ความรู้ ผลงาน

รอบรู้เรื่องสร้างบ้าน ARCHITECT-BKK

บริษัทรับออกแบบ เขียนแบบ ออกแบบตกแต่งภายใน

สารพัดปัญหา เรื่อง “หลังคาดาดฟ้า” ที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ

"หลังคาดาดฟ้า" ที่จะมีรูปแบบหลังคาแบน (Flat Slab) ช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยได้ แต่ตัวพื้นผิวคอนกรีตเองต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงแดด และฝนโดยตรง นั่นจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ้านร้อน น้ำรั่ว น้ำขัง และปัญหาการระบายน้ำไม่ทัน อาจจะมาจากการก่อสร้างของช่างที่ไม่ได้มาตรฐาน วันนี้ทาง อาร์คิเทค บีเคเค จึงนำการแก้ไขปัญหามาฝากกัน 1. บ้านร้อน

บ้าน,รับสร้างบ้าน,แบบบ้าน,หลังคาดาดฟ้า,ดาดฟ้า,Flat Slab,อากาศ

เนื่อวด้วยคุณสมบัติของคอนกรีตที่เป็นวัสดุสะสมความร้อน และส่งผ่านความร้อนได้ดี ห้องใต้หลังคาดาดฟ้าคอนกรีตจึงร้อนมากในเวลากลางวัน และรวมถึงในช่วงเวลาเย็นและกลางคืน การแก้ไขสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน ฉีดหรือพ่นฉนวนกันความร้อนบนพื้นดาดฟ้าคอนกรีต นอกจากนี้อาจทำสวนดาดฟ้า ติดตั้งกระเบื้องบนหลังคา เป็นต้น 2. น้ำรั่วซึม

บ้าน,รับสร้างบ้าน,แบบบ้าน,หลังคาดาดฟ้า,ดาดฟ้า,Flat Slab,อากาศ

ปัญหาน้ำรั่วซึมที่เพดานห้องชั้นบนเกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น พื้นหลังคาคอนกรีตดาดฟ้ามีรอยร้าวอันเนื่องจากสภาพอากาศที่ต้องเผชิญทั้งแดดและฝน หรือเกิดรอยร้าวบริเวณรอยต่อโครงสร้าง รวมถึงระบบกันซึมเริ่มเสื่อมสภาพ ตลอดจนระยะ ระยะของผิวคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมน้อยเกินไปตั้งแต่ช่วงก่อสร้าง หากละเลยปัญหาไว้น้ำฝนจะทำปฏิกิริยากับเหล็กเสริมจนเกิดสนิม และดันให้คอนกรีตแตกกะเทาะออกมา สร้างความเสียหายให้แก่โครงสร้าง และความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยได้ ดังนั้นจึงควรป้องกันและหาสาเหตุเพื่อซ่อมแซมแก้ไขตามความเหมาะสม 3. แอ่งน้ำขัง

บ้าน,รับสร้างบ้าน,แบบบ้าน,หลังคาดาดฟ้า,ดาดฟ้า,Flat Slab,อากาศ

พื้นหลังคาคอนกรีตเป็นแอ่งน้ำขัง เกิดจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ผสมคอนกรีตผิดสัดส่วน หรือปรับพื้นไม่ได้ระดับ หากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้เช่นกัน การแก้ไขควรปรับระดับพื้นดาดฟ้าใหม่เพื่อให้น้ำสามารถระบายสู่ท่อน้ำทิ้งได้ พร้อมทำระบบกันซึมตามความเหมาะสม ทั้งนี้หากมีแอ่งเล็กๆ เพียงไม่กี่จุด สามารถเลือกแก้ไขเฉพาะจุดแทนการเทปรับระดับปูนทั้งผืน 4. ระบายน้ำไม่ทัน

บ้าน,รับสร้างบ้าน,แบบบ้าน,หลังคาดาดฟ้า,ดาดฟ้า,Flat Slab,อากาศ

ในกรณีที่ฝนตกหนักจนดาดฟ้าระบายน้ำฝนไม่ทัน มักเกิดจากท่อน้ำทิ้งอุดตัน หรือมีจำนวนไม่พอต่อการระบายน้ำ เพิ่มความเสี่ยงในการรั่วซึม และอาจเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างได้ ดังนั้น จึงควรป้องกันและแก้ไขได้โดยการใช้ท่อน้ำทิ้งแบบตะแกรงหัวน้ำฝน (Roof Drain) เนื่องจากเป็นตะแกรงทรงคว่ำที่ช่วยป้องกันสิ่งสกปรกอุดตันท่อได้ ที่มา : SCG

Architect-BKK.com บริษัท อาร์คิเทค บีเคเค จำกัด บริษัทสถาปนิก บริการให้คำปรึกษาออกแบบ เขียนแบบบ้าน บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน บริการออกแบบตกแต่งภายใน บริษัทรับออกแบบทุกสไตล์ Modern Style Modern Luxury Tropical Style Resort Style Classic Style Thai Modern Luxury Home Contemporary Style โดยทีมงานสถาปนิก

ARCHITECT-BKK CO.,LTD.

Copyright ©2551-2568 17ปี Architect-BKK™ Company Limited.

57 ซอยรามอินทรา 65 แยก 4 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพ 10230