สถาปนิกมาก่อนแต่กลับหลังสุด ตอนที่ 2 (ออกแบบบ้านที่ครุใน ขั้นวิเคราะห์)
โดย เมษายน 29, 2017 2:12 am
หลังได้รับข้อมูลความต้องการแล้ว การคิดไอเดียออกแบบบ้านเริ่มขึ้น โดยมีขั้นตอนคือ
A.กระบวนการวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณ มีโจทย์งบ xx ล้านบาท แบ่งสรรทำอะไรบ้างในขั้นต้นเชิงเปรียบเทียบจากลักษณะการก่อสร้างในแบบเดิมเทียบสถิติ ได้แก่เรื่อง ขนาดตัวบ้าน โรงรถ พื้นที่สระ พื้นที่โถง พื้นที่ถนน รั้ว และการปรับระดับดินถม การทำงานขอมิเตอร์การเดินสายเมนต์ไฟฟ้า ประปา การใช้เครื่องจักรเครื่องทุ่นแรง เทียบมาเป็นเงินงบประมาณ เป็นเพียงขั้นต้นเพื่อกำหนดขนาดให้ได้ไกล้เคียงกับการเกิดแบบในอนาคตนั่นเอง
ความสำคัญ งบประมาณก่อสร้างเป็นตัวชี้วัดว่าการออกแบบให้ได้ผลคุ้มค่ากับเงินลงทุนแค่ไหนและตรงโจทย์แค่ไหน ส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ตรงของสถาปนิกที่จะนำทางไปด้วย โดยนำค่าเปรียบเทียบที่สมจริงได้และรวบรวมงบได้ครบทุกชนิดงานที่ต้องทำจริง ในวัยแรกๆทำงานของผม สัก 1-3 ปีไม่เคยมองเรื่องการวิเคราะห์แบบนี้เพราะผมไม่เคยสัมผัสงานก่อสร้างจริง มีหลายงานในสมัยนั้นเจ้าของงานผิดหวังจากตัวผมจ่ายค่าแบบและไม่ได้สร้างเพราะเราไม่รู้ถึงการ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นญาติๆกัน ต่อมาเริ่มมารับเหมางาน ปีที่ 4 และ 5 การพลาดเพียงรายการเดียวจากการประเมินทำให้ผมเข้าเนื้อ ผมเริ่มหันมาทบทวนกระบวนการแบบนี้ มองในแง่ภาพลักษณท่านอื่นเปรียบเทียบ พบว่าหลักทางการเงิน งบประมาณ และการธุระกิจนั้นสถาปนิกนั้นพลาดพลั้งได้ง่ายเพียงสนองจินตนาการและความต้องการสวยงามนั่นเอง ที่ผมตื่นตัวเรื่องนี้ขึ้นมาได้นั้นเพราะผมเองเข้าไปสู่การลงทุนเอง ปัจจุบันในการอกแบบงานบ้านแต่ละหลังเพื่อให้งานออกแบบบ้านในบริษัทไม่ผิดเป้าหมายทางงบประมาณ
ลูกค้าสร้างบ้านไม่ผิดเป้าหมายการลงทุนทรัพย์ ผมเองจัดให้น้องๆจูรี่แบบและการประเมินขั้นต้นให้ฟังก่อนเริ่มงาน และใช้การประชุมรอบสัปดาห์สอบถามการทำงบในทุกๆหลังของโครงการ เพื่อน้องๆสถาปนิกจะ
นำทางลูกค้าได้ถูกทาง
B.กระบวนการวิเคราะห์ ทางด้านใช้สอย เช่นการกำหนดขนาดห้อง พื้นที่ต่าง
USER ในแต่ละงานแต่ละโครงการนั้นแตกต่างกันเสมอ บ้านหลังนี้ พ่อ แม่ สามี ภรรยาเจ้าของบ้าน ลูกสองคน แม่บ้าน 2 คน และญาติที่มาบ่อยๆตามเทศกาลต่างๆ กิจกรรมการสอนพิเศษ กิจกรรมปฏิบัติธรรมในครอบครัวเครือญาติ การซ้อมดนตรี และสันทนาการเกี่ยวกับสังคมการงาน จากวัตถุประสงค์ที่ให้มา เมื่อผมตารางขึ้นมาแต่ละส่วนรวมกันบ้านหลังนี้มีพื้นที่การใช้สอยร่วม 3000 ตารางเมตร การวิเคราะห์การใช้สอยส่วนหนึ่งต้องเรียนรู้จากพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว ขั้นตอนดึงข้อมูลนี้เข้ามาในหัวสมองอันน้อยนิดของผม คือการพูดคุยโทรศัพท์เป็นร้อยนาทีและหลายๆครั้ง ส่งเมล์บ้าง(สมัยนั้นไลน์ไม่ค่อยนิยม) จนบางครั้งผมคิดว่าเจ้าของบ้านแต่ละหลังเหมือนพี่สาวเรา พี่ชายเรา เพื่อจับใจความ เจาะประเด็นว่าชอบ เกลียด รัก นิยม รสชาติ สี อารมณ์ ต้องบอกว่าอยากเข้าใจกันลึกเลย เพื่อผมตอบมันลงไปในงานได้ งานออกแบบบ้านก็จะจบเร็ว และหลายครั้งหลายท่านจากมุมมองเจ้าของบ้านหันมาบอกเราในบางโอกาสด้วยเสมือนว่าเข้าใจว่าสถาปนิกแบบผมเป็นคนยังไงเช่นกันตรงนี้น่าทึ่งมาก ว่าการทำงานเพื่อศึกษา user กลับ user ศึกษาเราด้วย สนิทกันมาก โดยเฉพาะหลังนี้ผมว่าเป็นเรื่องที่ประทับใจทั้งสองฝ่ายระหว่างเส้นทางออกแบบ...เรื่องนี้น้องสถาปนิกเอาไปคิดด้วยนะครับการปฏิสัมพันธ์มีประโยชน์ต่อการทำงาน(สถาปนิกชอบพูดว่าอินจังงานนี้ หรือกำลังอิน หากได้ยินคำนี้จากปากไครแล้ว ผมว่าใช่)
ในประเด็นดังกล่าวจึงใช้การนำเสนอ ให้เจ้าของรับทราบเพราะการศึกษารอบนี้ขั้นต้นเกินงบประมาณที่วางไว้เพื่อหาข้อสรุป ในที่สุดสรุปพื้นที่การออกแบบบ้านที่เป็นส่วนอาคาร 1600 ตรม.ทางสัญจรร่วมและโรงรถ 200 ตรม. ถนนภายใน ประมาณ 300 ตรม.
สถาปนิก กมน
บทความน่าสนใจ
สถาปนิกมาก่อนแต่กลับหลังสุด ตอนที่ 4 (ออกแบบบ้านที่ครุใน การวิเคราะห์รูปทรง และFIST DESIGN )
โดย kamon - ออกแบบบ้านครุใน
สถาปนิกมาก่อนแต่กลับหลังสุด ตอนที่ 3 (ออกแบบบ้านที่ครุใน การวิเคราะห์พื้นที่ SITE ANALYSIS )
โดย kamon - ออกแบบบ้านครุใน
สถาปนิกมาก่อนแต่กลับหลังสุด ตอนที่ 2 (ออกแบบบ้านที่ครุใน ขั้นวิเคราะห์)
โดย kamon - ออกแบบบ้านครุใน
สถาปนิกมาก่อนแต่กลับหลังสุด ตอนที่ 1 (ออกแบบบ้านที่ครุใน ขั้นสำรวจพื้นที่ก่อสร้าง)
โดย kamon - ออกแบบบ้านครุใน