ใบอนุญาตเลขที่ น 059-63

เรื่องราว กิจกรรม ความรู้ ผลงาน

แบบบ้านบนดาดฟ้า ARCHITECT-BKK

บริษัทรับออกแบบ เขียนแบบ ออกแบบตกแต่งภายใน

แบบบ้านบนดาดฟ้า บ้านบนยอดตึก ตอนที่ 3 (ปลูกหญ้าบนดาดฟ้า)

แบบบ้านบนดาดฟ้า บ้านบนยอดตึก ตอนที่ 3  (ปลูกหญ้าบนดาดฟ้า)

การนำสวนขึ้นไว้บนดาดฟ้า  เป็นความประสงค์หลักที่ต้องมีสีเขียวเกิดขึ้นทดแทนสีปูน(ไม่ใช่หิน กรวด ทราย แบบสวนญี่ปุ่น)  ผมมีทางเลือกสองแนวทางคือการใช้หญ้าจริงและหญ้าเทียม  หญ้าจริงมีข้อดีคือสวนได้สมจริง  ข้อเสียคือการดูแลหลังการปลูกที่ต้องอาศัยความชื้นให้หญ้าอยู่รอดเป็นการดูแลที่ต้องใช้งบประมาณเช่นการใช้หยดน้ำบำรุงความชื้นของดิน  การตัดแต่ง  การระบายน้ำช่วงฝนตกหนักอาจเกิดล้างหน้าดินให้รากหญ้าลอย  เป็นต้น  ชนิดหญ้าจริงไม่ระบุนะครับเลือกกันตามท้องถิ่นหรือความชอบ  ส่วนหญ้าเทียมมีข้อเสียคือขาดความเป็นธรรมชาติ  แข็งกระด้างหลังจากมีการเผาจากแดด  และเกิดไฟฟ้าสถิต(บางชนิดที่มีการผลิตที่ลดไฟฟ้าสถิตได้แล้ว ถามเรื่องนี้กับผู้จำหน่ายให้หนักเลย ประเภทผลิตจากพลาสติกเส้นหญ้าเสียดสีกันไฟลุกเลยก็มี  อันตรายไฟไหม้ได้ครับศึกษาแล้วต้องบอกว่าหนาวๆ)  ข้อดีคือการดูแลเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน ในกรณีที่ผมทำแบบเราตัดสินใจใช้หญ้าจริงเพื่อเข้ากับต้นไม้จริง น้ำจริง  โครงสร้างบนคอนกรีตรับน้ำหนักได้และเพิ่มการวางทับลงไปเท่านั้นเอง  ผมนำการปลูกแบบต่างประเทศมาศึกษาดังภาพด้านล่าง  มีการทำได้สองกรณี คือแบบปลูกโดยสร้างธรรมชาติของชั้นผิวดินและการระบายน้ำ

อ่านและแปลนะครับ  ในภาพนี้เป็นการทำกรีนรูฟที่สมบูรณ์แบบตามลักษณะงานแบบเมืองหนาว มีชั้นแผ่นป้องกันหลังคาค่อนข้างเยอะ  มีค่าใช้จ่ายสูง ศึกษาการทำแล้วตกอยู่ราวๆ 2,000-3000 บาทต่อ ตารางเมตร

แบบที่สองนี้เป็นกรีนรูฟ (GREEN ROOF)ที่ประหยัดขึ้นมาเยอะจึงขออธิบายงานแบบนี้ยาวหน่อย  ซึ่งมีโอกาสนำไปใช้กันมากกว่า  เป็นแบบวางตะแกรงรังไข่แบบพลาสติกระบายน้ำลงรูฟแดรนของดาดฟ้าเดิมได้เลย  หญ้าจะปลูกในดินตามชั้นดินที่เหมาะกับชนิดหญ้า กระบะพลาสติกเจาะรูเล็กๆ(บ้านเราน่าจะมีการทำรูกันเอง)ใส่กรวดชั้นล่างสุดไม่ให้ดินไหลลงอุดรู ใส่เปลือกมะพร้าวกรองไม่ให้ดินไหลอีกชั้นก็ได้ใส่ดินตามลักษณะหญ้า  บางชนิดมีรากลึก บางชนิกรากผิวดิน(ประยุกต์ไปใช้กับกลุ่มต้นไม้เลื้อยคลุมดินได้ครับ)  แล้วนำกระบะเพาะเลี้ยงไปวางบนตะแกรงรังไข่  ปรับระนาบขอบให้สวยงาม  พอหญ้าโตขึ้นก็จะคลุมขอบพลาสติก สามารถเดินขึ้นเล่นได้ตามปกติ

ในภาพนี้จะเห็นการเพาะเลี้ยง ชำเตรียมไว้  ด้านล่างเป็นตะแกรงพลาสติกเช่นเดียวกับแบบรังไข่ แต่แบบนี้มีขอบตะแกรงนำ้ไหลไม่สะดวกจึงไม่เหมาะจะใช้  การออกแบบระดับผิวดินทดค่าไว้ 12-15 เซ็นติเมตร ตะแกรงรังไขพาสติกสูง 3-5 เซ็นติเมตร กระบะหญ้าให้หนาหน่อย 8-10 เซ็นติเมตร ถ้าเราใช้กระบะแบบขอบเอียงตามภาพอาจขึ้นเดินไม่ดีนักแต่ข้อดีคือการอาจเดินท่อน้ำในช่องระหว่างกระบะได้ ผมศึกษานานเลย แต่สุดท้ายสรุปว่าปลูกได้ไม่ยาก ในแบบที่สองนี้  บนระเบียงเล็กๆก็ทำได้ครับ การดูแลคือการหมั่นรดน้ำและทำความสะอาดช่องระบายน้ำที่พื้นอาจมีมูลดินหลุดจากกระบะออกไปได้บ้าง  เพื่อโลกนี้สีเขียว  ช่วยกันพวกเรา จาก  สถาปนิก กมน   https://www.facebook.com/สถาปนิก-กมน-868270139906233  

Architect-BKK.com บริษัท อาร์คิเทค บีเคเค จำกัด บริษัทสถาปนิก บริการให้คำปรึกษาออกแบบ เขียนแบบบ้าน บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน บริการออกแบบตกแต่งภายใน บริษัทรับออกแบบทุกสไตล์ Modern Style Modern Luxury Tropical Style Resort Style Classic Style Thai Modern Luxury Home Contemporary Style โดยทีมงานสถาปนิก

ARCHITECT-BKK CO.,LTD.

Copyright ©2551-2567 16ปี Architect-BKK™ Company Limited.

57 ซอยรามอินทรา 65 แยก 4 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพ 10230